ปัญหาส่วนใหญ่ที่ได้รับจากสมาชิกของเรา เห็นจะได้แก่จะทำอย่างไร? ในการที่จะเลือกใช้ปั้มที่เหมาะสมกับงานที่เขาต้องการ เราเลยทำเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อพยายามจะช่วยให้เพื่อนสมาชิกสามารถเลือกใช้ปั้มน้ำที่ต้องการได้ง่าย และถูกต้อง
การเลือกปริมาตรการนำส่งต่อชั่วโมงที่จำเป็น/ Determine flow rate
ปั้มที่จะใช้เพื่อการขับเคลื่อนน้ำไปบำบัดผ่านระบบกรองแล้วส่งกลับคืนสู่สระอีกเป็นวงจร เรามักต้องการปริมาตรการไหลอย่างน้อยที่สุด ประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาตรน้ำในสระ (การคำนวณปริมาตรน้ำในสระ)ที่จะต้องได้รับการบำบัดปรับสภาพ
ตัวอย่างเช่น เราต้องการบำบัดน้ำจากสระที่มีปริมาตรน้ำ 2,000 แกลลอน กรณีนี้เราจะต้องใช้ปั้มที่มีแรงขับเคลื่อนน้ำอย่างน้อย 1,000 แกลลอน/ชั่วโมง (gph)เป็นกำลังเริ่มต้น จากนั้นเราอาจจะพบว่า 1,000 แกลลอน/ชั่วโมง (gph)คงไม่พอ หากเราต้องการที่จะมีน้ำตกที่มีความกว้างอย่างน้อย 10 นิ้ว โดยปกติแล้วการทำน้ำตก เราคงต้องการกำลังส่งอย่างน้อย 100 - 150 gph ต่อ 1 นิ้วของความกว้างของแผ่นน้ำตกที่จะทะลักลงมา ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความแรงของการที่จะให้ น้ำตกทะลักออกราบเรียบ หรือพุงทะลักออกก็ต้องการกำลังส่งที่มากกว่า
แล้วยังต้องคำนึงถึง ความสูญเสียจากแรงเสียดทานจากพื้นผิวท่อที่ต้านการไหลในระบบกรอง หลอด UV และระบบท่อ อีกทั้งอุปกรณ์เหล่านี้ต้องการกำลังส่งที่พอเหมาะในการทำงานตามประสิทธิภาพของแต่ละอุปกรณ์ โดยสามารถบังคับโดยปรับแรงส่งด้วยการใช้วาวล์ ประเภท ball valve แล้วแยกท่อเพื่อแบ่งน้ำที่จำเป็นในการสร้างรูปแบบน้ำตกที่ต้องการไปรวมอีครั้งที่ทางออกของอุปกรณ์อื่นก่อนส่งไปที่น้ำตกในปริมาตรที่พอเพียงการคำนวณหาแรงดันต้น/ Calculate Head Pressure
เรื่องต่อไปที่จะต้องคำนวณหาคือ การคำนวณหาแรงดันต้น/ Calculate Head Pressure ทีระบบที่เราต้องการมีแฝงอยู่ เพื่อที่จะเลือกใช้ขนาดปั้มที่เหมาะสมกับงานที่จะใช้
มีอยู่ด้วยกัน 3 แรงดันด้วยกันที่จะต้องคำนวณหา คือ:
STATIC HEAD- นี่คือแรงดันที่ต้องใช้ในการส่งน้ำสูงขึ้นไปจากระดับผิวน้ำ;FRICTION HEAD- นี่คือแรงดันที่จะต้องมาเสริมการสูญเสียกำลังส่งอันเนื่องมาจากแรงต้านการไหลจากผิววัสดุของท่อ และข้อต่อต่าง ๆ ในเส้นทาง;
PRESSURE HEAD- นี่คือแรงดันเพิ่มเติมที่อุปกรณ์ในระบบเช่น เครื่องกรอง , venturis, และอุปกรณ์อื่น ๆ
ในการคำนวณสำหรับการสร้างระบบของสระน้ำมักจะไม่ต้องใช้ PRESSURE HEAD. ก่อนอื่นต้องรู้ระยะระยะตามแนวตั้งที่จะต้องส่งน้ำไปเป็นฟุตจากระดับผิวน้ำ หรือที่เรียกว่า STATIC HEAD. ขั้นต่อไป, ใช้ Friction Loss Chart เพื่อหาค่า FRICTION HEAD. รวมค่านี้กับ PRESSURE HEAD ซึ่งจะได้ค่ารวมที่ใช้ในการเลือกขนาดปั้มที่ต้องการ to size the pump.
Chart นี้จะเป็นค่าของ ค่าที่สูญเสียจากแรงเสียดทาน/friction lossesในระยะทางการไหลในท่อในอัตรา ต่อ 100 feet ของท่อน้ำ
ตัวอย่าง: หากเรามีอัตรากำลังส่งที่ 1200 gallon ต่อชั่วโมง (gph) แล้วเราใช้ท่อส่งน้ำขนาด 1 นิ้ว และมีระยะที่ส่งผ่านท่อน้ำนี้เป็น 30 feet (30/100= 0.3) ของความยาวท่อ เราก็จะมีการสูญเสียจากค่าแรงเสียดทานในท่อเป็น 21.75 x 0.3 = 6.52 feet. สำหรับค่าการสูญเสียจากค่าแรงเสียดทานในข้อต่อชนิดต่าง ๆ ให้เช็คค่าสำหรับ Friction Loss in PVC Fitting มารวมระยะเพื่อคำนวณ
Friction Loss Per 100 Feet of SCH 40 Plastic Pipe
Nominal Pipe Diameter
GPH* 1/2" 3/4" 1" 1 1/4" 1 1/2" 2" 3" 4" 60 2.08 0.51 - - - - - - 120 4.16 1.02 0.55 0.14 0.07 - - - 300 23.44 5.73 1.72 0.44 0.22 0.066 0.015 - 420 43.06 10.52 3.17 0.81 0.38 0.11 0.021 - 600 82.02 20.04 6.02 1.55 0.72 0.21 0.03 - 900 - 42.46 12.77 3.28 1.53 0.45 0.07 - 1200 - 72.34 21.75 5.59 2.61 0.76 0.11 0.03 1500 - - 32.88 8.45 3.95 1.15 0.17 0.04 1800 - - 46.08 11.85 5.53 1.62 0.23 0.06 2100 - - - 15.76 7.36 2.15 0.31 0.08 2400 - - - 20.18 9.43 2.75 0.41 0.11 2700 - - - 25.1 11.73 3.43 0.51 0.17 3000 - - - 30.51 14.25 4.16 0.61 0.16 3600 - - - - 19.98 5.84 0.85 0.22 4200 - - - - - 7.76 1.13 0.31 4500 - - - - - 8.82 1.28 0.34 4800 - - - - - 9.94 1.44 0.38 5400 - - - - - 12.37 1.8 0.47 6000 - - - - - 15.03 2.18 0.58 7500 - - - - - - 3.31 0.88 9000 - - - - - - 4.63 1.22 10500 - - - - - - 6.16 1.63 12000 - - - - - - 7.88 2.08 15000 - - - - - - 11.93 3.15 *Gallons Per Hour แกลลอนต่อชั่วโมง
เอาค่ารวมของจำนวนข้อต่อ แล้วใช้นี้ในการคำนวณหาค่า the friction loss in the fittings. รวมค่าที่ได้กับความยาวท่อทั้งหมด ไม่สามารถใช้ค่าเหล่านี้ในกรณีที่ใช้ท่อแบบ flexible PVCอ่อน
Friction Loss in PVC Fittings = Equivalent Feet of Straight Pipe
Pipe Size 1/2" 3/4" 1" 1 1/4" 1 1/2" 2" 3" 4" 90 ELBOW 1.5 2 2.25 4 4 6 8 12 45 ELBOW 0.75 1 1.4 1.75 2 2.5 4 5 GATE VALVE 0.3 0.4 0.6 0.8 1 1.5 2 3 TEE-Flow-RUN 1 1.4 1.7 2.3 2.7 4.3 6.3 8.3 TEE-Flow-Branch 4 5 6 7 8 12 16 222
จะเลือก ปั้มจุ่ม กับ ปั้มติดตั้งจากภายนอก แบบไหนดี?
ก่อนที่จะไปเลือกปั้ม มีอีกอย่างที่ต้องคำนึงถึง ว่า เราควรใช้ ปั้มแบบจุ่ม หรือ แบบที่ติดตั้งจากภายนอก อันไหนดี?
Submersible pumps/ปั้มจุ่ม มักจะมีราคาถูกกว่า และติดตั้งได้ง่าย แต่มีค่าใช้จ่ายจากการใช้งานสูงกว่า และมักจะเสื่อมสภาพเร็วกว่า แบบติดตั้งจากภายนอก อายุการใช้งานจะขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำที่ต้องนำส่ง และมีการดูแลรักษาดี สม่ำเสมอหรือไม่ ใช้งานแบบติดต่อเป็นเวลานาน หรือใช้บ้างไม่ใช้บ้าง
External pumps/ปั้มแบบที่ติดตั้งจากภายนอก จะใช้พลังงานมีประสิทธิภาพกว่า และมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า แต่การติดตั้งจะยุ่งยากกว่าและต้องพยายามหาตำแหน่งที่เหมาะสมและหลบจากสายตา
เป็นการดีที่จะสามารถตรวจสอบระยะเวลาการรับประกันคุณภาพของแต่ละแบบเพื่อเปรียบเทียบด้วย เพราะมักจะเป็นตัวบ่งความทนทานของมันในตัว เราพบว่าโดยทั่วไปอายุใช้งานมักจะมากกว่าที่แจ้งไว้เป็นระยะเวลารับประกันประมาณ 2 - 4 เท่า ปั้มที่ราคาแพงกว่าปั้มอื่นเป็นสองเท่าแต่มีอายุการใช้งานมากกว่าถึงสามเท่าย่อมคุ้มค่ากว่าโดยการเปรียบเทียบ
ตรวจเช็คค่าใช้จ่ายจากการใช้งานปั้ม
เราสามารถที่จะคำนวณหาค่าใช้จ่ายจากากรใช้งานจริงของปั้มใด ๆ จากสูตรนี้:
formula: amps x volts หารด้วย 1000 x ค่าไฟฟ้าต่อ KWH x 24 ชม/วัน x 30.4 วัน/เดือน = ค่าใช้จ่ายจาการใช้งานต่อเดือนหากค่าที่ประกาศที่ปั้มมีหน่วยเป็น watts แทนที่จะเป็นค่า amps เราต้องใช้สูตรนี้
formula: watts หารด้วย 1000 x ค่าไฟฟ้าต่อ kWh x 24 ชม/วัน x 30.4 วัน/เดือน = ค่าใช้จ่ายจาการใช้งานต่อเดือนKWH จะเป็นอัตราค่าไฟฟ้า kilowatt-hourซึ่งหาได้จากบิลค่าไฟฟ้าของแต่ละเดือนจากากรไฟฟ้าฯ
(Pump Operation Cost Calculator)
จะใช้ปั้มไหนดี?/Which Pump?
Online Catalog จะมีปั้มที่ระบุโดยลักษณะการทำงานที่ให้อัตราการไหล/flow rate สำหรับแรงดันต้น/various head pressures ที่อัตราต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น: เรามีสระน้ำที่มีปริมาตร 1500 gallons และมีน้ำตก/waterfall ที่แผ่กว้าง/weir กว้าง 10 inches wide. เราต้องใช้ อัตรากำลังส่ง(อัตราการไหล) เป็น ½ ของปริมารสระ 1500 gallons หรือ 750 gph เพื่อจะได้การไหลเวียนที่ดีเหมาะกับสระของเรา แต่น้ำตกจะต้องใช้กำลังส่งเพิ่มอีก 1000 to 1500 gph (ได้มาจาก 100 to 150 gph ต่อความกว้างแผ่นน้ำตกที่แผ่ออกหนึ่งนิ้ว/inch of width of weir) ฉะนั้นเราจะต้องใช้ปั้มที่สามารถใช้ปั้มที่มีกำลังส่งอย่างน้อย 1000 gph หรือ 1500 gph ตามที่จำเป็นสำหรับใช้กับน้ำตก
ขั้นตอนต่อไปก็ต้องคำนวณหาแรงดันต้น/head pressure.
เมื่อน้ำตกอยู่ที่ระดับ 4 feet เหนือระดับน้ำในสระ และต้องมีระยะที่จะต้องส่งน้ำจากสระไปยังน้ำตกอีก 25 feet เมื่อเราเช็คค่ากำลังส่งที่จะสูญเสียจากแรงเสียดทานจาก Friction Loss Chart, สำหรับท่อ PVC ขนาด 1 ½" ขนาดปั้มที่เหมาะสมน่าจะเป็นขนาด 1500 gph.
เราน่าจะมีค่า FRICTION HEAD ที่ประมาณ 1 foot สำหรับท่อขนาด 1 ½" pipe. เอาค่านี้ไปรวมกับความยาว 4 feet ที่ได้จากค่า STATIC HEAD ฉะนั้นเรามีค่าแรงดันต้น/total head pressure อยู่ที่ประมาณ 5 feet.
ขั้นตอนต่อไปก็ต้องก็ต้องไปดูที่อัตราการไหลหรือกำลังส่งของปั้มนั้น ๆ/flow charts
สำหรับปั้มแต่ละแบบ/various pumps. อย่างเช่น Pondmaster PMP1800 มีกำลังส่ง 1200 gph @ 5 feet of head. หากต้องการใช้ปั้มที่ติดตั้งจากภายนอก/external pump คุณอาจจะเห็นว่า Sequence MDM3600 ที่มีกำลังส่งประมาณ 2700 gph @ 5 feet of head. แม้จะดูเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นนักที่จะต้องมีแรงส่งสูงกว่าที่คำนวณได้ แต่เราสามารถบังคับอัตราการไหล/flow โดยการติดตั้ง ball valve ที่ด้านส่งน้ำออกของระบบท่อ และจะเลือกใช้ปั้มไหนในทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็จะเหมาะกับสระน้ำที่ใช้ในการคำนวณนี้
เลือกปั้มจากากรคำนวณสักสองสามแบบ แล้วนำมาคำนวณเปรียบเทียบหาค่าใช้จ่ายจากการใช้งานจริง calculate the operating cost fของปั้มแต่ละแบบ แล้วมาเปรียบเทียบร่วมกับราคาของปั้ม และระยะเวลารับประกัน ก็จะทำให้สามารถเลือกปั้มได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และประหยัดคุ้มค่าสุด
หากยังไม่มั่นใจ หรือต้องการสอบถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเรา, ก็ติดต่อมาถามได้ที่: js.srisuk@gmail.com หรือจะโทรศัพท์มาสอบถามก็ยินดี โทรได้ที่ 02 952 6327
ปฏิทิน และข่าวสาร