คู่มือการจัดการสระน้ำ หรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่
-
บทความที่จะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสมดุลของระบบนิเวศน์ของแหล่งน้ำ
การวางแผนและออกแบบขั้นตอนวิธีการจัดการแหล่งน้ำขนาดใหญ่เชิงรักษาป้องกัน!- บทนำการจัดการแหล่งน้ำขนาดใหญ่
- ลักษณะทางกายภาพของแหล่งน้ำ
- ปัญหาและสาเหตุที่ทำให้เกิดคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม
- ผลกระทบต่อแหล่งน้ำที่คุณภาพน้ำไม่ดี
- การจัดการแหล่งน้ำเชิงรักษาป้องกัน
- คุณสมบัติระหว่างน้ำพุและเครื่องเติมอากาศ
- การเลือกคุณสมบัติเครื่องเติมอากาศที่เหมาะสม
- ทางเลือกอื่นๆ ในการแก้ปัญหาของแหล่งน้ำ้
- บทสรุปการจัดการแหล่งน้ำขนาดใหญ่
- Our Pond Kits/ชุดอุปกรณ์เพื่อสร้างสระน้ำธรรมชาติไว้้แหวกว่าย มีให้เลือกหลายแบบหลายขนาดเพื่อความพอเพียงในสวนหลังบ้านของท่าน
บทนำการจัดการสระน้ำ หรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่
- การจัดการแหล่งน้ำขนาดใหญ่ คุณภาพน้ำเป็นเรื่องที่เป็นปัจจัยวิกฤติที่ต้องจัดการเพื่อความสำเร็จในการดูแลรักษาสนามกอล์ฟ สนามกีฬา อาคารทางการค้าขาย หรือที่อยู่อาศัย การละเลยไม่ดูแลรักษาอย่างถูกวิธีจะทำให้น้ำเสียซึ่งจะส่งผลลบต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ สนามหญ้า ระบบน้ำเลี้ยง และความสวยงามโดยรวมของสถานประกอบการ
หากคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้จากการที่คุณภาพของน้ำที่เน่าเหม็นสกปรก และอากาศที่ไม่บริสุทธิ์ หลักการนี้เป็นเรื่องแน่นอนของความสมดุลของระบบนิเวศน์ทางน้ำ และการจัดการสนามกอล์ฟ งานภูมิทัศน์ และสถานประกอบการอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ คุณภาพน้ำถือเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งทั้งในธรรมชาติและคุณค่าของอสังหาที่มนุษย์สร้างขึ้น แต่ก็ยังมีการศึกษาและการทำความเข้าใจระบบชีวภาพของทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญนี้น้อยมาก
บ่อเก็บน้ำ สระ ทะเลสาบ บ่อสำหรับระบบน้ำเลี้ยงสนาม และภูมิสถาปัติแห่งสายน้ำหลาย ๆ แห่งยังไม่ได้รับการดูแลรักษาได้ดีนัก เรามักจะพยายามที่จะแก้ไขเฉพาะอาการที่สามารถสังเกตุเห็นได้เท่านั้น เช่น การเกิดสาหร่ายเขียวอย่างหนาแน่น พืชน้ำที่หนาแน่นเกินไป กลิ่นที่น่ารังเกียจ ระบบจ่ายน้ำเลี้ยง วาล์วบังคับ และระบบปั้มอุดตัน แทนการที่จะรักษาป้องกันอย่างถูกวิธี
ความรู้ความเข้าใจไม่ชัดแจ้งลึกซึ้งพอ จึงใช้วิธีแบบกินยาแก้ปวดหัวและใช้พลาสเตอร์ปิดแผลไปเรื่อย ๆ กับโรคที่ร้ายแรงกว่านั้น และมักจะกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง เพราะแก้แบบเฉพาะการเท่านั้น เชื้อและสาเหตุที่ต้นตอถูกละเลยโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
หากสามารถจะเข้าใจรากเง่าของปัญหาก็จะสามารถสร้างมาตรการณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่สามารถป้องกันปัญหาในระยะยาวได้ อีกทั้งจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี
แบบเดียวกับที่หมอดินจะชำนาญในเรื่องของของดินที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก หรือปลูกดูแลสนามหญ้า Limnologists เป็นผู้ชำนาญการเรื่องการจัดการรักษาสมดุลของทะเลสาป เอกสารต่อไปนี้ได้จากเอกสารการค้นคว้าของผู้ชำนาญการเหล่านี้ของ มหาวิทยาลัยฟลอริด้า และ มหาวิทยาลัยมินเนโซต้า ในสหรัฐอเมริกา จากหลายๆ โครงการที่เกี่ยวข้องที่ได้ทำการทดสอบ ค้นคว้า วิจัยในเรื่องที่เกี่ยวกับระบบน้ำเลี้ยงทางเกษตร การเปลี่ยนถ่ายอ๊อกซิเจน และการไหลเวียนของระบบของแหล่งน้ำ
เราหวังว่าหลังจากได้ศึกษาบทความนี้ที่เราออกแบบมาเฉพาะที่จะให้ท่านสามารถเข้าใจถึงสาเหตุที่จะก่อให้เกิดน้ำเสียในแหล่งน้ำปิด แบบระน้ำ หรือทะเลสาบ และหากจำเป็นท่านสามารถที่จะออกแบบใหม่เองเพื่อให้ระบบของท่านสามารถที่จะควบคุมคุณภาพน้ำได้ อย่างดีแบบเชิงป้องกันปัญหาแทนที่จะต้องคอยตามแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุไปเรื่อย ๆ อย่างน่าปวดหัวและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและ แรงงานสูง - ทะเลสาปแต่ละแห่งเป็นระบบวงจรทางชีวภาพที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง
ลองคิดถึงภาพของทะเลสาปที่เคียงข้างกัน แห่งแรกดูสดใส สะอาดและอุดมณ์สมบูรณ์เป็นสมบัติที่มีค่ายิ่งแก่ที่ดินและสถานที่นั้น แต่อีกแห่งกลับสกปรก เต็มไปด้วยวัชพืช แถมส่งกลิ่นอันไม่น่าพึงปรารถนา มันเกิดจากอะไร? (ภาพที่ 1)น่าจะเป็นผลของการที่ทะเลสาปแต่ละแห่งเป็นระบบวงจรทางชีวภาพที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง และมันไม่มีมนต์วิเศษที่สามารถจะมาแก้ปัญหาที่เกิดกับทะเลสาปนั้นได้ นี่แหละจึงเป็นเหตุผลที่ท่านจำต้องเข้าใจระบบชีวภาพและสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาให้ได้ รวมถึงผลข้างเคียงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เพื่จะป้องกันไม่ให้เกิดได้
ด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลสนาม หรือผู้จัดการสถานที่เป็นมืออาชีพ ท่านคงตระหนักเป็นอย่างดีในความรับผิดชอบ และมีวิธีการที่จะสามารถสร้างเอกลักษณ์ที่น่าชื่นชมให้แก่อสังหาริมทรัพย์และสิ่งแวดล้อมในความรับผิดชอบให้ดูดีน่ารื่นรมณ์แก่ผู้พบเห็น หรือลูกค้าที่มาใช้บริการให้ประทับใจได้
ต่อไปนี้เราจะมาพิจารณาในเรื่องของวงจรที่มีผลกระทบต่อแหล่งน้ำ หรือทะเลสาป อันจะรวมถึงชนิดของแหล่งน้ำและทะเลสาป ส่วนประกอบสำคัญในแหล่งน้ำและทะเลสาป อีกทั้งความสำคัญในการที่จะต้องสร้างและรักษาสมดุลของระบบชีวภาพของแหล่งน้ำนั้น - ในการที่จะออกแบบและฝึกฝนปรับใช้หลักวิธีการจัดการรักษาป้องกันคุณภาพน้ำ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความเข้าใจ
ที่ถูกต้องถึงสาเหตุของปัญหาที่จะส่งผลต่อคุณภาพของน้ำในแหล่งน้ำนั้น ๆ
เราจะร่วมกันค้นหาสาเหตุของการที่คุณภาพน้ำจะตกต่ำลงได้ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องที่เจ้าของสถานที่และผู้จัดการต้องคำนึงถึง รวมไปถึงการเจาะลึกไปถึงกลยุทธวิธีการที่จะแก้ไขไม่ให้เกิดสาเหตุที่จะสร้างปัญหาที่จะเป็นเรื่องยากในการแก้ไข การวางแผนที่จะออกแบบโปรแกรมการจัดการเชิงรักษาป้องกันแหล่งน้ำขนาดใหญ่ให้สามารถรักษาสมดุลทางชีวภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกับแหล่งที่ตั้ง สภาพแวดล้อม และการป้องกันปัญหาที่น่าปวดหัวในการที่จะหาทางแก้ไขไม่ให้เกิดได้
มารู้จักกับประเภทของแหล่งน้ำที่ท่านจะต้องจัดการดูแลรักษาเพื่อช่วยให้ท่านสามารถกำหนดจุดสังเกตุสำหรับปัญหาที่มักจะเกิดตามปกติ
ที่จะต้องเตรียมรับมือเพื่อเข้าไปจัดการแก้ไขได้อย่างทันท่วงที
เมื่อได้พิจารณาคุณสมบัติของแหล่งน้ำมาตรฐาน 3 ประเภทต่อไปนี้แล้ว
ท่านควรจะลองสำรวจแหล่งน้ำที่ท่านต้องดูแลจัดการว่าจัดอยู่ในประเภทไหน?
-
โดยทั่วๆ ไปแหล่งน้ำขนาดใหญ่มักจะสามารถจัดไว้ในหนึ่งของสามประเภทหลัก ๆ ต่อไปนี้:
- Oligotrophic แหล่งน้ำใหม่ที่ไม่มีพืชพันธุ์มากนักแต่มีอ๊อกซิเจนเจือในน้ำสูง
- Mesotrophic แหล่งน้ำอายุปานกลางที่มีเกลือแร่ที่เป็นสารอาหารแก่พืชพอสมควร
- Eutrophic แหล่งเก่าแก่น้ำที่มีเกลือแร่ที่เป็นสารอาหารแก่พืชมาก
อายุการใช้งานของแหล่งน้ำและการออกแบบก็เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะต้องคำนึงถึงเสมอ แต่ละแหล่งน้ำก็จะมีโซนหรือพื้นที่ที่ต่างลักษณะกัน
ออกไปอีกที่ผู้จัดการดูแลจะต้องรู้จักและทำความเข้าใจเพื่อจะใช้ในการวิเคราะห์ในการจัดการดูแลรักษาสมดุลของระบบชีวภาพของแหล่งน้ำ
และแหล่งน้ำที่มีสมดุลก็จะเป็นแหล่งน้ำที่มีคุณภาพและอุดมสมบูรณ์ เกิดเสื่อมโทรมได้ช้า
Oligotrophic
จะเป็นแหล่งน้ำที่ใสสะอาด น้ำจะเย็นและมีสารอาหารของพืชน้อย สาหร่ายหรือพืชน้ำยังไม่เจริญเติบโตมากนัก ตามหลักภูมิศาสตร์ถือว่าเป็นแหล่งน้ำใหม่ มักจะมีลักษณะเด่น ๆ ที่มีระดับของ ฟอสฟอรัสน้อย ไม่ถึง .001 mg/l และไม่มีสาหร่าย หรือน้อยมาก
Mesotrophic
แหล่งน้ำประเภทนี้มักจะมีสารอาหารอย่างพอเพียงสำหรับ ทั้งพืชเซลเดียว หรือพืชน้ำอื่น และพอจะเชื่อได้ว่าเป็นแหล่งน้ำที่มีอายุมานานพอสมควร แหล่งน้ำประเภทนี้จะมีฟอสฟอรัสสูง มักมีหญ้าและสาหร่ายให้เห็นอยู่ทั่วไปซึ่งอาจเป็นปัญหาได้ต่อไป
Eutrophic
แหล่งน้ำประเภทนี้จะมีสารอาหารที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชสูง คุณภาพน้ำจะมีลักษณะขุ่นมีสิ่งปนเปื้อนสูง และมีสาหร่ายมากรวมทั้งพืชเซลเดียวและพืชน้ำอื่น ๆ หนาแน่น มีระดับฟอสฟอรัสมากกว่า 1 mg/l เมื่อคำนึงถึงความจริงที่ว่า หนึ่งกรัมของฟอสฟอรัสจะสามารถสร้าง 100 กรัมของสาหร่าย แหล่งน้ำเก่าแก่แบบนี้จะมีปริมาณสาหร่ายอาศัยอยู่สูงมากมาย
แหล่งน้ำและทะเลสาปจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุของการใช้งานเป็นปกติ ตามธรรมชาติโดยปกติการพัฒนาจะใช้เวลาเป็นร้อยหรือพันปีเลยทีเดียว
Cultural eutrophication
มักจะหมายถึงอัตราเร่งการพัฒนาตามอายุของแหล่งน้ำจากการรับเอาผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ ทำให้เสื่อมโทรมเร็วเป็นเท่าทวีคูณ ผลจากการกระทำของมนุษย์จะรวมถึงการก่อสนิม การปนเปื้อนทางเคมี ปนเปื้อนปุ๋ยเคมี น้ำเสีย และน้ำเสียจากถังบำบัดรั่วไหลสู่แหล่งน้ำ และอื่น ๆ อีกมากมาย ยิ่งมีผลจากากรกระทำของมนุษย์มากเท่าใดก็ยิ่งทำให้แหล่งน้ำเสื่อมตามอายุเร็วขึ้นเท่านั้น
แหล่งน้ำส่วนใหญ่ที่เราต้องดูแลรักษาก็เป็นแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น และบางส่วนก็ได้รับการออกแบบที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจมีระดับน้ำที่กำหนดขึ้นเองและมักจะตื้นมาก ดังนั้นในเวลาไม่กี่ปีก็จะเสื่อมจากอายุสร้างใหม่ไปสู่อายุมากเสื่อมโทรมเป็นแหล่งน้ำเก่าแก่อย่างรวดเร็ว
การปล่อยให้มีน้ำล้นจากภายนอกเข้าสู่แหล่งน้ำมาก ๆ ก็เป็นตัวเร่งให้เกิดความเสื่อมตามอายุไขเป็นเท่าทวีคูณเช่นกัน จะต้องเอาใจใส่หามาตรการในการจัดการอย่างถูกต้องจึงจะสามารถที่จะแก้ไขปัญหาจากเหตุนี้ได้ เพื่อรักษาแหล่งน้ำให้อุดมสมบูรณ์และสวยงามน่ารื่นรมณ์ต่อไปได้
หากท่านสามารถเกรดประเภทของแหล่งน้ำที่ท่านจะต้องดูแลรักษา ก็จะเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการที่จะสร้างสรรแผนงานยุทธวิธีในการที่จะดูแลแหล่งน้ำของท่านโดยเฉพาะได้ อย่างถูกต้องต่อไป
หน้า้ต่อไป เราจะพิจารณาถึงลักษณะทางกายภาพของแหล่งน้ำ
ปฏิทิน และข่าวสาร