-
รายการใน"คู่มือการจัดการสระน้ำ หรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่"
บทความนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสมดุลของระบบนิเวศน์ของแหล่งน้ำ!- บทนำการจัดการแหล่งน้ำขนาดใหญ่
- ลักษณะทางกายภาพของแหล่งน้ำ
- ปัญหาและสาเหตุที่ทำให้เกิดคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม
- ผลกระทบต่อแหล่งน้ำที่คุณภาพน้ำไม่ดี
- การจัดการแหล่งน้ำเชิงรักษาป้องกัน
- คุณสมบัติระหว่างน้ำพุและเครื่องเติมอากาศ
- การเลือกคุณสมบัติเครื่องเติมอากาศที่เหมาะสม
- ทางเลือกอื่นๆ ในการแก้ปัญหาของแหล่งน้ำ้
- บทสรุปการจัดการแหล่งน้ำขนาดใหญ่
ในฐานะผู้จัดการที่ต้องดูแลรักษา มันเป็นเรื่องจำเป็นมากที่เราจะต้องเข้าใจปัจจัยต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำและสมดุล
ของระบบนิเวศน์ของแหล่งน้ำในความรับผิดชอบ
- ปัจจัยที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง 3 ประการสำหรับผู้จัดการแหล่งน้ำ:
- Light and Temperature แสงสว่าง และอุณหภูมิ
- Nutrients ระดับของสารอาหารที่ปนอยู่ในผืนน้ำ
- Oxygen ระดับอ๊อกซิเจนในน้ำ
แสงแดดเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในระบบนิเวศของทะเลสาปเพราะเป็นส่วนที่ให้พลังงาน พลังงานส่วนใหญ่จะควบคุมการสังเคระห์แสงที่ให้
อ๊อกซิเจนแก่แหล่งน้ำ
การสังเคระห์แสงจะเกิดขึ้นเฉพาะใน euphotic zone โซนชั้นบนที่รับแสงของผืนน้ำเปิดกว้างที่ลำน้ำเป็นแท่ง ๆ ที่แสงแดดสามารถ
ส่องผ่านลงไปได้ ผืนน้ำที่ลึกน้อยกว่า 9 ฟุต หรือ 3 เมตรมักจะมีปัญหาในการที่จะมีพืชใต้น้ำประเภทหญ้า และสาหร่ายมาก
Thermal Stratification จะเป็นศัพท์ที่หมายถึงการแบ่งเป็นชั้นของผืนน้ำที่มีอุณหภูมิต่างกัน การที่แสงแดดส่องมาที่ผิวน้ำจะทำให้
บริเวณพื้นผิวอุ่นขึ้น และทำให้น้ำในส่วนนั้นเบาขึ้นกว่าส่วนที่เย็นอีกด้วย น้ำที่เกาะกันหนาแน่นจะถูกปิดกั้นอยู่ที่ส่วนล่างของแหล่งน้ำ และ
ในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิที่แตกต่างกันระหว่างชั้นทั้งสองของผิวน้ำที่เย็นและร้อนจะมีอัตราสูง และจากปรากฏการณ์นี้เองที่ทำให้เกิดการแยก
เป็นชั้นของผืนน้ำอันเนื่องมาจากอุณหภูมิทีต่างกันเป็นชั้นบนและชั้นล่างที่เย็นกว่าซึ่งจะไม่ผสมรวมตัวกัน
พื้นที่ระหว่างชั้นของผืนน้ำที่ต่างอุณหภูมินี้ เรียกว่า thermocline หรือ metalimnion (รูปที่ 4 ) จะทำหน้าที่เป็นชั้นที่แยกทาง
กายภาพของชั้นทั้งสองที่ต่างอุณหภูมิมิให้รวมตัวกันได้ในแนวดิ่งของแหล่งน้ำทำให้การกระจายอ๊อกซิเจนเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง และที่ต้อง
สังเกตุให้ดีอีกคือส่วนที่อุ่นกว่าของชั้นผิวน้ำจะเป็นส่วนที่สนับสนุนการเกิดสาหร่ายในน้ำให้เจริญเติบโต
คุณคงเคยได้รับประสพการณ์ตอนกระโดดพุงหลาวลงน้ำแล้วรู้สึกว่าน้ำที่ส่วนล่างของก้นบ่อจะเย็นกว่าแผ่นชั้นน้ำส่วนบนที่ผิวน้ำ ใช่ไหม?
การแบ่งเป็นชั้น ๆ เนื่องจากความต่างจากอุณหภูมิมีผลต่อคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากผลกระทบจากอัตราส่วนผสมของ
อ๊อกซิเจน วิธีในการวัดอัตรผสมของอ๊อกซิเจน (รูปที่ 5) น้ำที่อุ่นมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะรวมตัวกับอ๊อกซิเจน ตามจริงน้ำที่ อุณหภูมิ 52
องศา ฟาเรนไฮน์ หรือ 11 องศาเซลเซียสจะสามารถอุ้มอ๊อกซิเจนได้ถึง 40% มากกว่าน้ำที่อุณหภูมิ 80 องศา ฟาเรนไฮน์ หรือ 27
องศาเซลเซียส การที่น้ำยิ่งมีอุณหภูมิสูง น้ำก็จะลดความสามารถในการอุ้มอ๊อกซิเจนลงตามลำดับ
การที่อ๊อกซิเจนจะผสมรวมเข้ากับน้ำในแหล่งน้ำจะเป็นผลจากการสังเคราะห์แสงของพืชน้ำ และคลื่นลมที่เกิด ระหว่างปฏิกริยาการแบ่งเป็น
ชั้น ๆ ของน้ำจากความต่างในอุณหภูมิ ผืนน้ำในชั้นล่างจะถูกตัดขาดจากปัจจัยสร้างอ๊อกซิเจนเหล่านี้ และจะอยู่ในสถานะขาดแคลนอ๊อกซิเจน
ชีวภาพทางน้ำต่างก็ต้องอาศัยอ๊อกซิเจนเพื่อการอยู่รอด ในชั้นที่ขาดแคลนอ๊อกซิเจนชีวภาพเหล่านี้ก็ต้องพยายามที่จะเคลื่อนย้ายไปไม่ก็จะตาย
ไป ในชั้น anoxic ด้านล่าง จะสูญเสียชีวภาพเหล่านี้มากที่สุด ทั้ง zooplankton และ แบคทีเรียอาศัยแสง ที่จัดเป็นชีวภาพที่เป็น
ประโยชน์ที่จะเป็นในการช่วยการย่อบสลายสารที่เป็นอาหารพืชและสิ่งปฏิกูล หากการย่อยสลายไม่สามารถดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพก็จะ
เกิดการหมักหมมของสิ่งปฏิกูลอันจะส่งผลต่อคุณภาพน้ำโดยรวมด้วย
การที่มีอัตราผสมของอ๊อกซิเจนที่ไม่พอเพียงจะทำให้เกิดปฏิกริยาเคมีแบบลูกโซ่ที่จะทำให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อสภาพน้ำ ซัลไฟด์จะถูก
เปลี่ยนแปลงเป็นไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเป็นสารธาตุเหล็กที่ไม่สามารถละลายกับน้ำก็จะเปลี่ยนเป็นสารละลายธาตุเหล็ก ทำให้ของแข็งแขวน
ลอยในน้ำจะเพิ่มมากขึ้น และเกิดการลดประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียที่ปนเปื้อนกับน้ำมาที่สะสมกันอยู่ในชั้นผืนน้ำชั้นล่างตามก้นบ่อ
การแบ่งชั้นของผืนนำตามอุณหภูมิจะเกิดตามฤดูกาล อีกทั้งการสะสมของอุณหภูมิจะยาวนานและสร้างปัญหามากในช่วงปลายฤดูร้อน และปลาย
ฤดูหนาว แหล่งน้ำและทะเลสาปในโซนร้อนอย่างประเทศไทยจะเป็นปรากฏการณ์สั้น ๆ ตามฤดูกาลในแต่ละปี และจะมีผลมากในช่วงปลาย
ฤดูร้อนและก่อนการไม้ผลัดใบ
แหล่งน้ำและทะเลสาปที่ตื้น ๆ จะสร้างปัญหาให้ยากแก่การจัดการได้มากกว่าน้ำลึก แหล่งน้ำที่ลึกไม่ถึง 2 เมตรมักจะอุ่นมากและเหมาะที่พืช
พันธุ์ไม้น้ำและสาหร่ายจะเจริญเติบโตได้ดี แหล่งน้ำประเภทนี้จะต้องใช้ความพยายามมากเป็นพิเศษในการหาวิธีการในการที่จะบำรุงรักษา
สภาพสมดุลของระบบนิเวศน์
ปัจจัยรองลงมาที่จะต้องพูดถึงกันในการศึกษาการจัดการสมดุลของระบบนิเวศน์ของทะเลสาปก็จะเป็นเรื่องของสารที่เป็นอาหารของระบบ
ชีวภาพในแหล่งน้ำ มีวิธีทางตรงในการที่แก้ไขอัตราของสารอาหารที่ผสมปนอยู่ในน้ำ รวมถึงปริมาณของสาหร่ายและสาหร่ายน้ำ
การที่จะได้ความรู้ที่ชัดแจ้งเป็นเรื่องสำคัญที่จะเห็นถึงแหล่งที่มาของสารอาหารที่เข้าสู่แหล่งน้ำ การที่สารอาหารนี้ปนละลายแตกตัวเข้าไปในน้ำ
และผลกระทบที่สารที่เป็นธาตุอาหารเหล่านี้มีกับสภาพของน้ำโดยปฏิกริยาทางเคมี อันที่จริงแล้วการตรวจพิสูจน์สภาพทางเคมีของน้ำจากแหล่ง
น้ำหรือทะเลสาปจะช่วยอย่างมากในการจะหาวิธีดูแลรักษาเชิงป้องกันสำหรับแหล่งน้ำที่มีปัญหา
เราจะต้องเริ่มจากการพิจารณาการที่สารชีวภาพที่ป็นธาตุอาหารสามารถเข้าไปสะสมและสลายตัวเข้ากับน้ำในแหล่งน้ำทะเลสาป สารชีวภาพที่
เป็นธาตุอาหารหนึ่งคือ สารประกอบฐานคาร์บอนที่เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช ในระบบนิเวศน์ของแหล่งน้ำทะเล
สาปธาตุอาหารขนาดใหญ่ที่เรามักจะกล่าวถึงคือ ฟอสฟอรัส และไนโตรเจน (phosphorus and nitrogen)อันที่จริงแล้วฟอสฟอรัสจัดว่า
เป็นธาตุชนิดเดียวที่ส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อการเจริญเติบโตของพืชน้ำ ที่สำคัญ หนึ่งกรัมของฟอสฟอรัสจะสร้างถึง หนึ่งร้อยกรัมของจำนวนสิ่ง
มีชีวิตในพื้นน้ำและสาหร่าย ขณะที่อัตราสารธาตุอาหารในน้ำเพิ่มขึ้นก็จะเป็นการสร้างการเติบโตของพืชน้ำ หญ้า และสาหร่ายเป็นเท่าทวีคูณ
เลยทีเดียว นี่เป็นปัญหาอย่างมากแก่การจัดการสิ่งแวดล้อมและความสวยงามของแหล่งน้ำ
จะเป็นประโยชน์อย่างมากถ้าเราสามารถที่จะบ่งบอกได้ถึงแหล่งที่มาของสารธาตุอาหารเหล่านี้เข้าสู่แหล่งน้ำ สามแหล่งที่มักจะเป็นที่มาสำคัญจะ
ได้แก่สภาพดินของก้นบ่อของแหล่งน้ำเอง และการหมักหมมของซากพืชที่ตายแล้วจากภายใน น้ำที่เอ่อล้นเข้าสู่แหล่งน้ำจากบริเวณข้างเคียง
และน้ำจากแหล่งอื่นที่ไหลเข้ามา
ชีวิตพืชผักในทะเลสาปและปฏิกูลหมักหมมที่พื้นบ่อจะเป็นแหล่งสารธาตุอาหารที่สำคัญ แม้มันจะเป็นเพียงวงจรชีวิตสั้น ๆ เพียงสองสัปดาห์
สาหร่ายเขียวน้ำเงินจะประสพกับการแบ่งเซลและสร้างสายพันธุ์เพิ่มพูนป็นสองเท่า อย่างต่อเนื่องทุก ๆ 20 นาที และที่ปลายของวงจรนี้
สาหร่ายก็จะตายและจมลงสู่ก้นบ่อไปเพิ่มเป็นแหล่งสะสมของจำนวนสิ่งมีชีวิตที่ตายสะสมเพิ่มต่อพื้นที่ รวมเป็นจำนวนของสารชีวภาพในแหล่ง
น้ำต่อไป (รูปที่ 6) นี่เป็นวงจรการเกิดขี้เลน (“aquatic compost pile”) ที่กองเพิ่มเรื่อย ๆใน benthic zone หรือโซนส่วน
ล่างของบ่อ ส่วนที่หมักหมมกันที่ก้นบ่อนี้จะเสมือนเป็นแหล่งสารอาหารสำหรับสาหร่าย ตะไคร่ และหญ้าน้ำที่จะเกิดตามมาต่อไป หรือที่เรียกว่า
เป็นห่วงโซ่อาหารของแหล่งน้ำ ห่วงโซ่อาหารนี้จะสร้างความต้องการอ๊อกซิเจนเพิ่มขึ้นอีกเช่นกัน จากแหล่งน้ำนี้ในโซน hypolimnion
หรือโซนส่วนก้นบ่อและก่อให้เกิดสภาวะความ เครียดจากการแย่งชิงทรัพยากรในที่นี้คืออ๊อกซิเจนที่จำกัด ของเหล่าชีวภาพที่ร่วมกันอาศัย
แหล่งน้ำนี้
ผลการวิจัยที่รายงานจากมหาวิทยาลัยฟลอริด้ากล่าวถึงตะกอน หรือชั้นเลนจะสะสมในอัตราประมาณ 1 ถึง 5 นิ้ว หรือ 2.5 ถึง 12
เซนติเมตรต่อปีในพื้นที่ตอนเหนือที่อากาศเย็น และในอัตราประมาณ 3 ถึง 8 นิ้ว หรือ 6 ถึง 16 เซนติเมตรต่อปีในพื้นที่เขตร้อนขึ้นอยู่
กับอัตราส่วนผสมของสารอาหารที่ละลายปนอยู่ในน้ำในแต่ละช่วงเวลา ณ จุดกลางของอัตรการสะสมที่อัตรา 3 นิ้วหรือ 7 เซนติเมตรต่อปี
อย่างพื้นที่ผิวพื้นทะเลสาปประมาณ 4000 ตารางเมตร ทะเลสาปนี้จะสูญเสียพื้นที่เก็บกักน้ำถึง 80,000 แกลลอน หรือ 300 คิวบิคเมตร
ของน้ำที่จะเก็บอยู่ได้ในหนึ่งปี ก็ลองไปคำนวณดูว่าเมื่อสะสมมากขึ้น ๆ จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อความสามารถในการกักเก็บน้ำของแหล่งน้ำ
แบบทะเลสาปเมื่อเวลาผ่านไป สิบยี่สิบ หรือ ห้าสิบปี เลนและสิ่งปฏิกูลจะเกิดการสะสมอย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ และจะลดทอนสมรรถภาพใน
การกักเก็บน้ำของแหล่งน้ำอย่างมหาศาลทุกปี
แหล่งสำคัญที่สองของที่มาของสารธาตุอาหาร จะมาจากของเหลวจากสนามและพื้นที่รอบ ๆ แนวตลิ่งของแหล่งน้ำ รวมถึงถนน ที่อยู่อาศัย
ฟาร์ม พื้นที่ทางการเกษตร โรงงานและอื่น ๆ โดยรอบ สมาคม USGA มีรายงานศึกษาพบว่ากว่า 4% ของปุ๋ยที่ใช้ในบริเวณสนามกอล์ฟ
หรือพื้นที่เพาะปลูกที่รายรอบแหล่งน้ำจะไหลลงสู่แหล่งน้ำในที่สุด ซึ่งสารเหล่านี้เป็นภาระด้านสารธาตุอาหาร ที่จะมีผลต่อคุณภาพน้ำ และหาก
พิจารณาต่อไปอีกจะพบว่า หากสนามกอล์ฟจะใช้ปุ๋ยในแต่ละปีประมาณ 16 ตัน นั่นหมายความว่าไม่น้อยกว่า 500 กก.ของปุ๋ยเหล่านั้นจะ
ไหลลงสู่แหล่งน้ำในแต่ละปีมากับน้ำฝนและท่อทางระบายต่าง ๆในบริเวณ ใบไม้ เศษหญ้าและการตัดแต่งหญ้า รวมถึงเศษวัสดุอื่น ๆ ก็จะปริว
ไหลล้นเข้าสู่แหล่งน้ำปีละไม่น้อยเลยด้วยที่จะต้องทำให้ระบบการทำความสะอาดโดยวงจรธรรมชาติของแหล่งน้ำต้องมีภาระเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ
มาก สระน้ำหรือทะเลสาปมักจะเป็นที่กักเก็บขยะโดยธรรมชาติโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง
การสะสมสารธาตุอาหารในแหล่งน้ำจึงมีอย่างมหาศาล โดยเฉพาะในบริเวณที่ติดต่อกับพื้นที่สีเขียว หรือสนามหญ้า การที่มีสารธษตุอาหารเพิ่ม
มากขึ้นปะปนในน้ำ ก็หมายถึงการเร่งรัดการเติบโตของพืชน้ำ และปริมาณอย่างรวดเร็วขึ้น ในตารางต่อไปนี้จะแสดงถึงผลกระทบที่สารอาหาร
ปนเปื้อนในน้ำจะมีต่อการเจริญเติบโตของพืชน้ำ
กรณีศึกษาโดย สมาคมการจัดการแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ของอเมริกาเหนือ (NALMS) แนะนำว่าสาหร่ายและตะไคร่สามารถที่จะบริโภคมากกว่า
1 mg/l ของฟอสฟอรัส และมากกว่า 2.5 mg/l ของไนโตรเจน (รูปที่ 8) และสารอาหารเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบ
โตของสาหร่าย หญ้า พืชน้ำและตะไคร่ การเพิ่มมากของสารอาหารก็จะเป็นสัดส่วนกับการเจริญเติบโตของพืชเห่ลานี้ให้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
สารอาหารก็สามารถเพิ่มมากขึ้นในแหล่งน้ำ บ่อ หรือทะเลสาปจากน้ำที่นำเข้ามาในแหล่งน้ำ แหล่งนำเข้าเหล่านี้เป็นทั้งจากทางท่อระบายน้ำ
ต่าง ๆ โรงบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ และน้ำล้นออกจากบ่อบำบัดตามบ้าน โดยส่วนใหญ่แล้วน้ำที่ระบายลงสู่แหล่งน้ำจะมีบริมาณอ๊อกซิเจนจำกัด
และมีธาตุฟอสฟอรัสบนเปื้อนอยู่จำนวนมาก จะสังเกตุได้ว่าน้ำที่มีฟอสฟอรัสปนเปื้อนมากจะเป็นน้ำที่เกิดเป็นฟองได้ง่าย
ปัจจัยสำคัญที่สามในระบบนิเวศน์ของแหล่งน้ำประเภทบ่อหรือทะเลสาบคือบทบาทของอ๊อกซิเจนที่มีอยู่ในน้ำ อ๊อกซิเจนมีบทบาทสำคัญมากต่อ
สิ่งมีชีวิตทั้งปวงและในแหล่งน้ำก็เช่นกัน คนเราเองจะอยู่ได้โดยไม่มีอ๊อกซิเจนได้นานซักแค่ไหนเชียว? อ๊อกซิเจนช่วยให้ห่วงโซ่ของวงจร
อาหารดำเนินต่อไปได้ในทะเลสาบและบ่อน้ำ ระบบนิเวศน์ในแหล่งน้ำประกอบไปด้วยพืชและสัตว์หลากหลายมากมายมีชีวิตที่สมบูรณ์ในแหล่ง
น้ำต่อไปได้ รวมไปถึงกลไกทางธรรมชาติที่ช่วยย่อยสลายสิ่งปฏิกูลและสารอาหารที่มีชิวิตต่าง ๆ ที่ด้าน่างของห่วโซ่อาหารประกอบไปด้วยสัตว์
เซลเดียวและสาหร่ายน้ำ ซึ่งจะเป็นอาหารของสัตว์ประเภท zooplankton ที่ใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อย แต่ละช่วงของห่วงโซ่อาหารที่เกิดการ
บริโภคนี้จะเกิดการถ่ายเทพลังงานที่มีอยู่ในแหล่งน้ำไปยังผู้บริโภคในลำดับที่สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ อันหมายถึงปลาที่เป็นที่ต้องการของนักล่าก็ต้อง
อาศัยปลาที่เล็กกว่าจำนวนมากเพื่อยังชีพ และทำนองเดียวกันพวกปลาเล็ก ๆ เหล่านี้กต้องการตะไคร่ สาหร่าย และสัตว์ที่เล็กกว่าจำนวนมาก
ๆ เช่นกัน พืชและสัตว์เล็ก ๆ เหล่านี้ก็ต้องการธาตุอาหารจำนวนมากเพื่อการมีชีวิตและเติบโตด้วย ห่วงโซ่อาหารที่สมบูรณ์เหล่านี้ก็จะช่วยขจัด
สารอาหารได้อย่างมากมาย อ๊อกซิเจนก็จำเป็นมากในการสนับสนุนวงจรนี้ทั้งระบบ
การย่อยสลายที่ต้องอาศัยอ๊อกซิเจนนี้เป็นปฏิกริยาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการที่จะสลายสารธาตุอาหาร ยิ่งไปกว่านั้น อ๊อกซิเจน
จำนวนมหาศาลที่ละลายปนอยู่ในน้ำจะสนับสนุนปฏิกริยาการรวมตัวของอ๊อกซิเจนกับสารอื่นและปฏิกริยาเคมีที่จะช่วยรักษาสมดุลของระบบ
นิเวศน์ของแหล่งน้ำ แล้วแหล่งน้ำเหล่านั้นได้รับอ๊อกซิเจนเข้าสู่ผืนน้ำได้อย่างไร? ก็จากหลาย ๆ แหล่งด้วยกัน แต่โดยส่วนใหญ่จากการ
สังเคราะห์แสงของพืช อาการของคลื่น และ ลม พืชน้ำและสาหร่ายจะสร้างอ๊อกซิเจนจำนวนมหาศาลจากการทำปฏิกริยากับแสงในกระบวน
การสังเคราะห์แสง นี่เป็นที่มาของอ๊อกซิเจนในน้ำเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะในทะเลสาบเก่าแก่, eutrophic lake
ในตอนกลางคืนที่ไม่มีแสงอาทิตย์แล้วพืชน้ำและสาหร่ายเหล่านี้จะหันมาใช้อ๊อกซิเจนใน กระบวนการสังเคราะห์แสง และคาย
คาร์บอนไดอ๊อกไซค์ออกมา และอีกขบวนการที่สำคัญในการรับเข้าอ๊อกซิเจนก็ได้จากขบวนการของคลื่นลมบนผิวน้ำ พื้นที่ผิวน้ำของ
ทะเลสาบ หรือบ่อน้ำจะเพิ่มขึ้นได้จากกระบวนการของคลื่นลมและแรงกระทำจากปัจจัยอื่น คลื่นลมนี้จะสร้างการหมุนเวียนและสลายชั้นแบ่ง
โซนจากความต่างของอุณหภูมิได้บ้างบางส่วน ส่วนบนของผิวน้ำที่สัมผัสกับอากาศได้โดยตรงก็จะรับอ๊อกซิเจนเข้ามาจากการกระจายรวมเข้า
กับมวลน้ำ และในที่สุดท้ายนี้การที่ฝนตกผ่านชั้นบรรยากาศก็จะจับเอาอ๊อกซิเจนมาตามทางปนผสมเข้าในลักษณะเป็นสารละลายขณะกระทบ
ผิวน้ำของทะเลสาบหรือบ่อ
ภาวะขาดแคลนอ๊อกซิเจน หรือสภาวะเครียดจะเกิดจากสาเหตุหลากหลาย เมื่อใดก็ตามที่ปริมาณอ๊อกซิเจนตกลงไปต่ำกว่า 3 ถึง 4 ppm
หรือ mg/l ถือเป็นภาวะขาดแคลนอ๊อกซิเจนที่เกิดขึ้น
- ภาวะที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เหล่านี้ ก็คือ :
- ช่วงเวลากลางดึก และก่อนฟ้าสาง
- วันที่ครึ้มฟ้าครึ้มฝน และขาดคลื่นลม
- อากาศร้อน และอบอ้าว
- เมื่อทะเลสาบมีสารอาหารสูงมากเกิน
- หลังจากเมื่อมีการใช้สารเคมีบำบัด
เมื่อเกิดปรากฏการณ์ขาดแคลนอ๊อกซิเจนก็จะทำให้ปลาตาย กลิ่นไม่พึงประสงค์ ภาวะที่มีผลอย่างยาวนานรวมถึงการสะสมสารธาตุอาหาร
การสะสมของเลนตรมที่พื้นบ่อ และการขาดสมดุลทางเคมี
ธรรมชาติมีกลไกที่จะทำหน้าที่ทำให้เกิดขบวนการความสะอาดที่ซึ่งจะมีการเผาผลาญอาหาร หรือย่อยสลายสารธาตุอาหารที่เป็นส่วนเกิน ซึ่ง
ขบวนการนี้ถูกเรียกว่า การย่อยสลายทางชีวภาพ จะมีแบคทีเรียโดยธรรมชาติที่อาศัยอยู่ในทะเลและบ่อน้ำ จะมีทั้งแบคทีเรียที่ต้องอาศัย
อ๊อกซิเจน และแบคทีเรียที่ไม่ต้องอาศัยอ๊อกซิเจน แบคทีเรียในน้ำจะทำหน้าที่แยกสลายและย่อยสารธาตุอาหาร และย่อยมันเป็นสิ่งที่เกิดจาก
ส่วนประกอบสองส่วนขึ้นไปที่ไม่มีชีวิต ซึ่งสาหร่าย ตะไคร่ และพืชน้ำไม่สามารถใช้เป็นอาหารโดยตรงได้
แบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพสูงจะเป็นประเภทที่ต้องอาศัยอ๊อกซิเจนในการยังชีพ แบคทีเรียที่ต้องอาศัยอ๊อกซิเจนจะอาศัยการที่มีอ๊อกซิเจนอยู่
และพวกมันจะทำการย่อยสลาย หรือแยกสารธาตุอาหารหายใจหรือใช้อ๊อกซิเจนในขบวนการ มันดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ แยกสารธาตุ
อาหารคาร์บอนไดอ๊อกไซค์ และสสารอื่นและสามารถทำได้อย่างรวดเร็วถึง เจ็ดเท่าของขบวนการที่เกิดจากแบคทีเรียที่ไม่ต้องอาศัยอ๊อกซิเจน
แบคทีเรียที่ไม่ต้องอาศัยอ๊อกซิเจน ก็สามารถย่อยสลายสารธาตุอาหารและสสารอื่นที่ปะปนในน้ำได้เช่นกันรวมไปถึงในชั้นเลนตที่ก้นบ่อที่มัก
จะมีอ๊อกซิเจนไม่พอเพียง หากว่ามันจะทำงานนี้ไม่ค่อยได้ประสิทธิภาพเท่าแบคทีเรียที่ต้องอาศัยอ๊อกซิเจนในการย่อยสลายสิ่งปฏิกูลและสาร
อาหาร มันยังยอมให้สารอาหารที่มีชีวิตสามารถสร้างวงจรชีวิตขึ้นใหม่ในโซนที่เป็นปล่องแสงของน้ำ สารพิษเช่น methane แอมโมเนีย
และไฮโดรเจนซัลไฟด์ยังสร้างขึ้นโดยแบคทีเรียเหล่านี้ โดยทั่วไปกลิ่นอันไม่พึงปรารภนาจากน้ำสามารถบ่งถึงภาวะอ๊อกซิเจนจาง หรือการขาด
แคลนอ๊อกซิเจน
ปฎิกิริยาเคมีที่เกิดจากการรวมตัวของออกซิเจนกับสารอื่น Oxidation เป็นขบวนการทางเคมีที่ต้องอาศัยอ๊อกซิเจน อ๊อกซิเจนเป็นโมเลกุล
ที่มีขั้วบวกทางไฟฟ้า ขณะที่โมเลกุลของอ๊อกซิเจนยึดเกาะกับสสารอื่นในน้ำมันจะเริ่มปฏิกิริยาทางเคมี และสลายการเกาะติดที่ยึดสสารเข้าด้วย
กัน นอกจากนั้นแล้วโมเลกุลที่มีขั้วบวกทางไฟฟ้าของอ๊อกซิเจนจะสร้างแรงดึงดูดและดึงโมเลกุลอื่นเข้ามายึดเข้าด้วยกัน เราเรียกขบวนการ
นี้ว่า coagulate การเปลี่ยนจากของเหลวเป็นก้อนหนาและเหนียวหนืด สารเหนียวหนืด และหนักขึ้นนี้ ก็จะตกผลึกและตกลงจากการ
ลอยตัว ในขบวนการนี้สารละลายได้ง่ายอย่างฟอสฟอรัส และเหล็กจะเปลี่ยนเป็นสารที่ไม่ละลายน้ำและไม่เป็นอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อชีว
ภาพในแหล่งน้ำ สภาพสมดุลของแหล่งน้ำจะต้องมีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นปฏิกูลไม่มากเกินไป โดยเฉพาะสาหร่ายที่แขวนลอยในน้ำ และสาหร่าย
รวมถึงสารอาหารในรูปแบบต่าง ๆ แบคทีเรียที่ต้องอาศัยอ๊อกซิเจนได้อาหารจากสารอาหารชีวภาพและย่อยมันเป็นสารประกอบที่ไม่มีชีวิตอัน
ที่สาหร่ายและพืชน้ำจะสามารถใช้เป็นอาหารได้โดยตรง
การทดสอบคุณภาพน้ำอย่างง่ายจะสามารถทำให้ทราบถึงปริมาณสารอาหารที่ปะปนในน้ำ รวมถึงคุณสมบัติอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการบริหาร
จัดการแหล่งน้ำให้เกิดภาวะที่สมดุล (รูปที่ 9) การทดสอบคุณภาพน้ำสามารถเฝ้าระวังปริมาณอ๊อกซิเจนที่ละลายปนอยู่ในน้ำ ปริมาณความต้อง
การอ๊อกซิเจนสำหรับระบบชีวภาพในแหล่งน้ำ ค่าความเป็นกรด เป็นด่าง ปริมาณฟอสฟอรัส ปริมาณไนโตรเจน และปริมาณสิ่งปฏิกูลในบาง
สภาวะ อ๊อกซิเจนที่ละลายน้ำอยู่จะวัดเป็นจำนวนส่วนต่อล้านส่วนของน้ำ ppm หรือ มิลลิกรัมต่อ 1 ลิตรของน้ำ mg/l ปริมาณความต้องการ
อ๊อกซิเจนสำหรับระบบชีวภาพน้ำจะวัดค่าเป็น BOD ตารางนี้จะแสดงค่าที่แสดงค่าที่เหมาะสมต่อสมดุลในแหล่งน้ำแบบทะเลสาบหรือบ่อน้ำ
การทดสอบนี้สามารถที่จะปฏิบัติได้โดยการทดลองในห้องปฏิบัติ การทั่วไปและถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการที่จะทำความเข้าใจคุณภาพน้ำของ
แหล่งน้ำที่ท่านจะต้องรักษาได้อย่างมีประสิทธิ
ลองคิดพิจารณาถึงการที่กลไกเหล่านั้นที่กล่าวมาประสานงานมีปฏิกิริยาในการที่จะทำให้แหล่งน้ำทะเลสาบ หรือบ่อน้ำมีคุณสมบัติดังที่เป็น
อยู่ การที่แหล่งน้ำเกิดมีอัตราของสารอาหารเพิ่มมากขึ้น นี่เป็นผลจาการรับน้ำเอ่อไหลเข้าจากพื้นที่แวดล้อม และจำนวนของสาหร่ายสาหร่าย
และพืชน้ำที่เติบโตเพิ่มพูนขึ้น การที่พืชน้ำเติบโตและตายลงแล้วตกลงสู่ก้นบ่อและย่อยสลายเน่าเปื่อยไป และเป็นผลให้เกิดมีกิจกรรมที่
เพิ่มขึ้น ๆ และเกิดการเพิ่มขึ้นของจำนวนแบคทีเรียจากการเพิ่มขึ้นของสารอาหารที่เพิ่มมากขึ้น ความลึกของบ่อจะลดลงจาการสะสมของ
เศษพืชสัตว์ที่ตายตกลงไปสะสมอยู่ที่ก้นบ่อมากขึ้น ๆ และจาการที่แบคทีเรียทำกระบวนการย่อยสลายปฏิกูลเหล่านี้ที่ก้นบ่อและใช้อ๊อกซิเจน
เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งอ๊อกซิเจนส่วนใหญ่จะได้จากผิวน้ำที่สัมผัสอากาศได้ จากน้ำฝนและการสังเคราะห์แสงของพืช
จาการที่อุณหภูมิของน้ำส่วนบนและล่างจะไม่เท่ากันทำให้เกิดชั้นแยกจากกันทำให้การกระจายอ๊อกซิเจนไม่สามารถกระจายได้อย่างทั่วถึงโดย
เฉพาะในผืนน้ำส่วนล่างที่มักเกิดการขาดแคลน ทำให้มีวงจรธาตุอาหาร ปลาตาย และเกิดกลิ่นเหม็นจากปฏิกิริยาจากแบคทีเรียที่ไม่ต้องอาศัย
อ๊อกซิเจน
ภาวะสมดุลในระบบนิเวศน์ของแหล่งน้ำเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและจำเป็นยิ่งที่ต้องรักษา ความสมบูรณ์ของแหล่งน้ำจะต้องมีองค์ประกอบของ
อ๊อกซิเจน สารอาหาร และอุณหภูมิที่ได้สมดุลกันอย่างสม่ำเสมอ
หน้า้ต่อไป เราจะพิจารณาถึงผลกระทบต่อแหล่งน้ำที่มีน้ำที่เสื่อมคุณภาพแล้ว