-
รายการใน"คู่มือการจัดการสระน้ำ หรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่"
บทความนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสมดุลของระบบนิเวศน์ของแหล่งน้ำ!- บทนำการจัดการแหล่งน้ำขนาดใหญ่
- ลักษณะทางกายภาพของแหล่งน้ำ
- ปัญหาและสาเหตุที่ทำให้เกิดคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม
- ผลกระทบต่อแหล่งน้ำที่คุณภาพน้ำไม่ดี
- การจัดการแหล่งน้ำเชิงรักษาป้องกัน
- คุณสมบัติระหว่างน้ำพุและเครื่องเติมอากาศ
- การเลือกคุณสมบัติเครื่องเติมอากาศที่เหมาะสม
- ทางเลือกอื่นๆ ในการแก้ปัญหาของแหล่งน้ำ้
- บทสรุปการจัดการแหล่งน้ำขนาดใหญ่
จะมีความแตกต่างเป็นอย่างมากระหว่างน้ำพุและเครื่องเติมอากาศ หน้าที่หลักของเครื่องเติมอากาศจะเป็นการเพิ่มอ๊อกซิเจนให้กับ
น้ำ และผลักดันการไหลเวียนของน้ำ หน้าที่หลักของน้ำพุจะเป็นเรื่องของการสร้างความสวยงามให้แหล่งน้ำ การเลือกเครื่องเติมอากาศ
ให้มองหาความสามารถในการส่งผ่านอ๊อกซิเจน (OTR) ที่มากกว่า 1 lb หรือ 5 kg ต่อกำลังม้าต่อชั่วโมง และแรงปั้มที่มากกว่า
300 GPM หรือ 1200 LP ต่อกำลังม้าของเครื่อง ขึ้นอยู่กับสภาพของแหล่งน้ำที่จะนำไปใช้ เราแนะนำให้ใช้เครื่องเติมอากาศขนาด
1HP ถึง 3 HP ต่อพื้นที่ผิวน้ำ1 เอเคอร์ หรือ 4000 ตารางเมตร
การเติมอากาศ โดยคำจำกัดความเป็นการเติมอ๊อกซิเจนเข้าไปในน้ำ โดยองค์ประกอบที่สองของการเติมอากาศคือการช่วยให้เกิดการหมุน
เวียนของผืนน้ำและหยุดการแบ่งเป็นชั้นของผืนน้ำอันเนื่องจากอุณหภูมิที่ต่างกัน การเติมอากาศเข้าสู่น้ำเป็นวิทยาศาสร์แขนงหนึ่งที่ใช้เพื่อ
การบำบัดของเสียจากการปนเปื้อนในน้ำ ในช่วงการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม และก็ยังถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่องในการบำบัดของเสียจาก
อุตสาหกรรมและจากที่พักอาศัย
การเติมอากาศให้น้ำยังสามารถใช้เพื่อขจัดกลิ่นเหม็นของน้ำที่ใช้เป็นน้ำเลี้ยงสำหรับสนามหญ้าได้ดีอีกด้วย การเติมอากาศเป็นวิธีการป้องกัน
แบบองค์รวมที่จะยืดอายุความมีประโยชน์ของแหล่งน้ำได้ จะใช้การเติมอากาศให้แก่แหล่งน้ำสามารถเพิ่มคุณภาพให้แก่น้ำและควบคุมการ
เกิดสาหร่าย?
โดยผลกระทบจากสามปัจจัยได้แก่ อ๊อกซิเจน สารอาหาร และอุณหภูมิ การใส่อ๊อกซิเจนจำนวนมากให้กับน้ำ การเติมอากาศจะช่วยส่งเสริม
การเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่อาศัยอ๊อกซิเจนเพื่อยังชีพ ซึ่งในการทำหน้าที่ทำความสะอาดแหล่งน้ำที่เป็นผลจากสารอาหารมีชีวิตและของ
เสีย ในที่สุดขนาดของเครื่องเติมอากาศที่เหมาะสมจะทำให้เกิดการไหลเวียนของน้ำที่ดีและเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อทำให้การแบ่งชั้นของผืนน้ำ
สลายทั้งลดอุณหภูมิที่ผิวน้ำไปได้และลดปัจจัยที่จะทำให้เกิดปัญหาแก่คุณภาพน้ำได้ อีกทั้งให้อ๊อกซิเจนกระจายไปทั่วถึงโดยเฉพาะในโซน
ล่าง ๆ ที่มักจะมีปัญหาขาดอ๊อกซิเจน (รูปที่ 16)
การแนะนำสารละลายอ๊อกซิเจนในทะเลสาบถึงส่วนล่างของผืนน้ำจะเป็นการสลายฟอสฟอรัสจากเลนตรมตกค้างสะสมที่ก้นบ่อลดการสะสม
ของแหล่งสารอาหาร อันที่จริง การเติมอ๊อกซิเจนไปยังส่วนล่างของแหล่งน้ำของแหล่งน้ำจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่จะเปลี่ยนสารละลายของ
ฟอสฟอรัสและธาตุเหล็กไปอยู่ในสถานะที่ไม่ละลายได้และพืชไม่สามารถบริโภคได้โดยตรง
นอกจากนั้นแล้วปัญหาจากการเติบโตของสนามหญ้าจากน้ำที่มีธาตุเหล็กอยู่สูง น้ำที่มีธาตุเหล็กอยู่สูงจะเป็นตัวช่วยให้สนามเป็นรอยอันเกิดจาก
ล้อของรถกล์อฟวิ่งผ่านได้ง่ายและรุนแรง จะเกิดปัญหาดังกล่าวได้เมื่อน้ำมีการปนเปื้อนของธาตุเหล็กมากกว่า 0.3 PPM หรือ mg/l
ระบบเติมอากาศ หากใช้ขนาดที่เหมาะสมจะเป็นการสลายการสะสมของธาตุเหล็กในน้ำได้เหลือ 0.1 PPM หรือ mg/l จากบทความการ
ศึกษาในภาคตะวันออกของอ๊อสเตรเรีย อัตราผสมสูงของธาตุเหล็กในน้ำทำให้เกิดหายนะแก่สนามหญ้าอย่างรุนแรง (รูปที่ 17)
หลังการเติมอากาศที่เหมาะสม แล้วสามารถลดการปนเปื้อนและเปลี่ยนแปลงสารผสมธาตุเหล็กจาก 15 mg/l จาก 17 PPM
ให้เหลือเพียง 0.02 PPM (mg/l) หลักฐานทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่าการเติมอากาศจะสามารถช่วยทำให้น้ำกระด้างเจือจางและ
ลดระดับ pH นี่เป็นผลมาจากการผสมน้ำที่มีส่วนผสมของคาร์บอนไดอ๊อกไซค์ในส่วนล่างของก้นทะเลสาบในปล่องน้ำ
อัตรากำลังการปั้มน้ำ และผลักดันการหมุนเวียนของน้ำที่สูงของขบวนการอัดเติมอากาศเพื่อสลายการแบ่งชั้นของผืนน้ำเนื่องจากอุณหภูมิต่าง
กัน ช่วยผสมน้ำที่หนักและเข้มข้นกว่าที่ส่วนล่างกับน้ำที่อุ่นกว่าจากส่วนพื้นผิวและกระจายอ๊อกซิเจนไปทั่วผืนน้ำ โดยการดึงน้ำที่เย็นกว่าจาก
ส่วนล่างมาที่ผิวน้ำผสมผสานกันจะช่วยลดการเติบโตของสาหร่าย สาหร่ายเซลเดียวถูกดึงลงสู่ก้นบ่อแหล่งน้ำและเพิ่มเวลาในที่อับแสงและเติบ
โตได้ช้านั่นเอง
การที่ท่านเห็นว่าการเติมอากาศอย่างมีประสิทธิภาพจะเกี่ยวข้องกับสามปัจจัยที่จะส่งผลต่อคุณภาพน้ำเสื่อมได้ อุณหภูมิ สารอาหาร และอากาศ
จะส่งผลให้เกิดสมดุล การที่จะเพิ่มคุณภาพให้น้ำเราจะช่วยให้เกิดการลดปริมาณของสาหร่าย และวัชพืชน้ำอื่น โคลนตมที่สะสมที่ก้นบ่อ กลิ่น
และการเกิดอย่างชุกชุมของแมลง ในทางตรงกันข้ามนี่เป็นผลกระทบในทางดีได้ต่อระบบน้ำเลี้ยง
หน้า้ต่อไป เราจะพิจารณาการเลือกคุณสมบัติเครื่องเติมอากาศที่เหมาะสม