บทสรุปการจัดการแหล่งน้ำขนาดใหญ่ Closing Summary

การจัดการเรื่องคุณภาพน้ำเป็นวิทยาศาสร์ ความเข้าใจเรื่องของระบบนิเวศน์ สาเหตุและผลกระทบของปัจจัยที่เกี่ยวข้องเกื้อหนุนกันเป็นเรื่องสำคัญในการที่จัดการดูแลบำรุงรักษาแหล่งน้ำขนาดใหญ่เช่นทะเลสาบ และสระน้ำแต่ละทะเลสาบ บ่อและแหล่งน้ำต่างก็มีระบบนิเวศน์ที่มีลักษณะพิเศษของตนเองที่ต้องการตรวจวิเราะห์และทำความเข้าใจ จะไม่มีแหล่งน้ำที่เหมือนกันเลย และเพราะเหตุนี้จะไม่สามารถที่จะใช้แผนงานวิธีการเดียวกันที่จะให้ผลดีกับแหล่งน้ำทั้งสองเหมือนกันได้ ความสมดุลที่เปราะบางนี้ระหว่างอุณหภูมิ ปริมาณสารธาตุอาหาร และปริมาณอ๊อกซิเจนที่ละลายผสมอยู่จะเป็นปัจจัยบ่งชี้ที่สำคัญในการจะคิดค้นวิธีการที่จะนำมาใช้สำหรับแต่ละแหล่งน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลักการที่สำคัญในการจะออกแบบโปรแกรมการจัดการที่ดีสำหรับสถานประกอบการของท่านจะง่ายและตรงจุดได้ไม่ยาก โดยอันดับแรกจะต้องวิเคราะหาสาเหตุ ไม่ใช่ดูเฉพาะเบาะแสของสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาในแหล่งน้ำ อาจพิจารณาจากปัจจัยที่จำเป็นว่าปัญหาของท่านเกิดจากแสงสว่าง อุณหภูมิ ธาตุอาหาร หรือเกียวข้องกับอ๊อกซิเจน ส่วนใหญ่แล้วปัญหาจะเกิดจากสาเหตุการขาดแคลนปัจจัยเหล่านี้ร่วมกับสามอย่าง

ต่อไปก็ต้องวิเคราะลักษณะทางกายภาพของตัวบ่อ ท่านมีขนาดของบ่อตามต้องการไหม? รูปร่างบ่อเป็นอย่างไร? และความลึกพอเพียงที่จะยอมให้มีระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ได้แค่ไหน? เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบบ่อที่บอกได้ว่าจะมีระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ต่อไปได้หรือไม่?

หลังจากที่ได้พิจารณาเรื่อง ปัญหาที่เกิดอยางเป็นกิจวัตร และรากเง่าของสาเหตุ ท่านก็คงพร้อมที่จะให้วิธีแก้ไขที่ถูกต้องได้ในการจัดการรักษาแหล่งน้ำ การจำกัดแสงแดและเหตุจากความร้อนโดยการใช้สารย้อมละลายในน้ำ หากแหล่งน้ำของคุณไม่มีความลึกที่เพียงพออาจจะต้องทำการขุดลอกโดยเครื่อง dredge ปัญหาที่เกี่ยวกับเกิดการสะสมของสารธาตุอาหารจำนวนมากเกินไปในแหล่งน้ำก็อาจจะต้องจำกัดการล้นเข้าของสารพวกนี้จากภายนอกเข้ามา และพยายามลดปริมาณที่มีอยู่ลงไปด้วย การจัดทำโซนที่ห้ามการใช้ปุ๋ยแก่สวนและสนามรอบตลิ่ง ใช้วิธีการให้ปุ๋ยแบบค่อยเป็นค่อยไปแต่พอดี การจัดให้มีเนินรอบแนวตลิ่งเพื่อป้องกันการล้นที่ไม่ต้องการ การจัดให้มีพื้นที่เปียกและปลูกพืชกรองกัน เหล่านี้จะช่วยป้องกันการเพิ่มสารธาติอาหารจากแหล่งภายนอกได้ตามแต่ละสภาพ การเติมอัดอากาศเพื่อเพิ่มอ๊อกซิเจน การชี้วภาพบำบัดโดยเพิ่มแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ และการเลี้ยงปลาที่บริโภควัชพืชเพื่อลดปริมาณสารอาหารในแหล่งน้ำ

ลองมาลำดับความกันเป็นเรื่องราวที่จะเข้าใจได้ง่ายขึ้นกัน Let's Review

การใช้โปรแกรมการจัดการเชิงรักษาป้องกันเป็นเครื่องมือในการทำงาน และใช้กรรมวิธีแก้วิกฤติเมื่อเกิดปัญหาที่เลวร้ายแล้วเท่านั้น การตัดเก็บ การขุดลอก และการกำจัดปัญหาโดยวิธีเคมีบำบัดต่างเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพแต่ไม่ใช่วิธีที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการดูแลบำรุงรักษาตามระยะอย่างสม่ำเสมอ

ฝึกฝนในการที่จะใช้วิธีการที่เป็นมิตร่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการทำให้เกิดสมดุทางระบบนิเวศน์ในการกำหนดโปรแกรมการจัดการรักษาเชิงป้องกัน อย่างเช่นในบางกรณีที่มีการใช้เครื่องเติมอากาศก่แหล่งน้ำ และกรย้อมสีน้ำจะสามารถที่จะกำจัดปัญหาเกี่ยวกับตะไคร่และสาหร่ายได้อย่างสิ้นเชิงภายในหกสัปดาห์ จะไม่มีเครื่องมือหรือวิธีใดวิธีหนึ่งที่ดีสำหรับทุกปัญหาของการจัดการแหล่งน้ำที่มีการออกแบบไว้แล้วในการควบคุมปัจจัยต่าง ๆที่เป็นสาเหตุทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมโทรมตามเวลาได้อย่างสำเร็จสมบูรณ์

การจัดการแหล่งน้ำขนาดใหญ่เป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง ยิ่งเวลานานเท่าใดที่มีโปรแกรมการจัดการเชิงป้องกันที่ถูกต้องตามสภาพของแหล่งน้ำดำเนินการอย่างสม่ำเสมอก็จะยิ่งยังประโยชน์ให้เห็นได้อย่างชัดเจนต่อแหล่งน้ำนั้น ๆ การใช้กรรมวิธีทางชีวภาพอย่างสมดุลจะเห็นผลอย่างค่อยเป็นค่อยไปและสภาพน้ำจะดีขึ้นในระยะยาวโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม

เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะสามารถให้ความเข้าใจ อย่างกระจ่างแจ้งแก่ผู้ที่สนใจ และติดตามศึกษาถึงผลกระทบจากปัญหาคุณภาพน้ำที่เสื่อมโทรม ที่จะมีต่อสภาพแวดล้อมของชุมชน และสามารถที่จะวิเคราะห์ หาทางแก้ไข หรือป้องกันได้อย่างถูกวิธี และตั้งมั่นในหลักการรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ของแหล่งน้ำเป็นสำคัญ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขอมอบเครดิตเหล่านี้ทั้งสิ้นจากแหล่งข้อมูลนี้: OTTERBINE BAREBO, INC
3840 Main Road East
Emmaus, PA 18049
(800) 237-8837 or (610) 965-6018
Fax: (610) 965-6050
E-Mail: aeration@otterbine.com
Website: http:\\www.otterbine.com

Let's visit J Water Garden Studio

 
Free Web Hosting